วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558








โครงการพัฒนาระบบใหม่ โรงขนมจีน หาดใหญ่

เสนอ

อาจารย์ นพศักดิ์              ตันติสัตยานนท์

จัดทำโดย

นายทินกฤต อำภาไพ                รหัส  2571031441330
นายอภิสิทธิ์ เดชสุวรรณ           รหัส  2571031441317
นายจิรภัทร เชิดวงศ์ตระกูล       รหัส  2571031441314



คณะ  อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี  สาขาวิชา  เทคโนโลยีสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล













โรงงานขนมจีน หาดใหญ่


ประวัติความเป็นมา
          ก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2510 เจ้าของคนแรกชื่อ นางซร้วง แซ่ตั้น ก่อตั้งที่ 130 ถนนประชาธิปัตย์ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ต่อมาได้ยกให้นายคงศักดิ์ เชิดวงศ์ตระกูลเป็นผู้ดูแลกิจการต่อ แต่เดิมเป็นกิจการภายในครอบครัวที่บริหารงานกันเอง และยังเป็นการผลิตแบบดั้งเดิมคือใช้แรงงานทั้งหมดในการผลิต
ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเป็นการใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วยเหลือทำให้การผลิตเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและทันต่อความต้องการของลูกค้า อีกทั้งเป็นโรงงานที่ผลิตเส้นขนมจีนที่เก่าแก่แห่งหนึ่งในเมืองหาดใหญ่

บทบาทและหน้าที่
1.     ฝ่ายบัญชี
จัดการด้านการเงินที่เกี่ยวข้องกับโรงงาน  เพื่อให้ดำเนินกิจการไปตามแผนที่วางไว้และมีหน้าที่ดูแลและบันทึก จัดเตรียมเงินสด การรับเงิน การจัดเก็บเงิน การนำเงินฝากธนาคาร รวมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกรายการทางการเงิน
ปัญหาของแผนกบัญชี
1.เอกสารมีจำนวนมาก
2.ค้นหาเอกสารได้ยาก เพราะ ไม่มีระบบจัดการเอกสาร
3.เอกสารสูญหายได้ง่าย
2.ฝ่ายวัตถุดิบ
          ฝ่ายวัตถุดิบเป็นฝ่ายที่จัดหาวัตถุดิบในการผลิตเส้นขนมจีน เช่น การจัดหาแป้งขนมจีนส่วนผสมอื่น ๆ ติดต่อกับผู้ค้าวัตถุดิบ ต่อรองราคา
ปัญหาของฝ่ายวัตถุดิบ
1.ไม่สามารถตรวจวัตถุดิบที่เหลืออยู่ได้ทันที
2.ต้องตรวจสอบวัตถุคงเหลือด้วยตนเอง
3.การตรวจสอบเป็นไปอย่างล่าช้า
3.ฝ่ายการขาย/จัดสั่งสินค้า
          มีหน้าที่จำหน่ายสินค้าให้กับลูกค้า  โดยแผนกขายจะมีการเก็บข้อมูลของลูกค้าที่มาสั่งซื้อ และข้อมูลการสั่งซื้อ เก็บข้อมูลการขายสินค้า รวมถึงข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
 ปัญหาของฝ่ายการขาย
1.ในบางครั้งการสั่งซื้อมีปริมาณมาก ทำให้วางแผนการตลาดได้ยาก
2.เอกสารของลูกค้าสูญหายได้ง่ายเพราะไม่มีการจัดเก็บที่ดี
3.การตรวจสอบสินค้าที่พร้อมส่งเป็นไปได้ยาก
ปัญหาระหว่างแผนก
แผนกบัญชีและแผนกวัตถุดิบ
1.การตรวจสอบวัตถุดิบมีความล่าช้าทำให้การอนุมัติเงินในการจัดซื้อวัตถุดิบล่าช้าตามไปด้วย
2.เอกสารการสั่งซื้อวัตถุดิบสูญหายทำให้ไม่สามารถอนุมัติเงินเพื่อสั่งซื้อวัตถุดิบได้
แผนกวัตถุดิบและแผนกการขาย
1.การตรวจสอบวัตถุดิบในการผลิตล่าช้าส่งผลให้การผลิตล่าช้าทำให้ส่งสินค้าได้ล่าช้า
2.หากมีการสั่งซื้อเป็นจำนวนมากและฝ่ายวัตถุดิบก็ไม่สามารถตรวจสอบวัตถุดิบที่เหลือได้ทันทีว่ามีปริมาณวัตถุดิบเหลือเท่าใดจึงส่งผลให้การผลิตล่าช้า
แผนกบัญชีและแผนกการขาย
1.บิลเงินสดสูญหายทำให้การตรวจสอบเงินที่ได้รับมีปัญหา
2.การขายสินค้าแบบปลีกขายทำให้ตรวจสอบเงินที่ได้รับเป็นไปได้ยาก
ปัญหาทั้งหมด
1.เนื้อที่จัดเก็บเอกสารมีจำกัด
2.เอกสารมีปริมาณมาก เช่น บิลเงินสด เอกสารการสั่งซื้อวัตถุดิบ
3.การตรวจสอบเอกสารล่าช้า ไม่ทันท่วงทีในการใช้งาน
4.เอกสารสูญหายได้ง่าย
5.ไม่สามารถตรวจวัตถุดิบที่เหลืออยู่ได้ทันที
6.ต้องตรวจสอบวัตถุคงเหลือด้วยตนเอง
7.การตรวจสอบวัตถุดิบเป็นไปอย่างล่าช้า
8.ในบางครั้งการสั่งซื้อมีปริมาณมาก ทำให้วางแผนการตลาดได้ยาก
9.เอกสารของลูกค้าสูญหายได้ง่ายเพราะไม่มีการจัดเก็บที่ดี
10.การตรวจสอบวัตถุดิบมีความล่าช้าทำให้การอนุมัติเงินในการจัดซื้อวัตถุดิบล่าช้าตามไปด้วย
11.เอกสารการสั่งซื้อวัตถุดิบสูญหายทำให้ไม่สามารถอนุมัติเงินเพื่อสั่งซื้อวัตถุดิบได้
12.การตรวจสอบวัตถุดิบในการผลิตล่าช้าส่งผลให้การผลิตล่าช้าทำให้ส่งสินค้าได้ล่าช้า
13.หากมีการสั่งซื้อเป็นจำนวนมากและฝ่ายวัตถุดิบก็ไม่สามารถตรวจสอบวัตถุดิบที่เหลือได้ทันทีว่ามีปริมาณวัตถุดิบเหลือเท่าใดจึงส่งผลให้การผลิตล่าช้า
14.บิลเงินสดสูญหายทำให้การตรวจสอบเงินที่ได้รับมีปัญหา
15.การขายสินค้าแบบปลีกขายทำให้ตรวจสอบเงินที่ได้รับเป็นไปได้ยาก
16.ถ้าแผนกขายทำเอกสารการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าหายจะทำให้การจัดส่งสินค้าผิดพลาดจากจำนวนกาสั่งซื้อได้
17.การทำงบประมาณการเงินทำได้ยาก เพราะเอกสารมีจำนวนมากและจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ
18.ไม่สามารถจำแนกรายการสินทรัพย์ส่วนตัว ออกจากสินทรัพย์ของกิจการ
19.เอกสารประกอบการบันทึกบัญชีไม่สมบูรณ์
20.มีความซับซ้อนของขั้นตอนในการอนุมัติการเบิกจ่าย
21.เครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดทำบัญชีไม่ทันสมัย
22.จัดทำบัญชีโดยไม่ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้า และความผิดพลาดในการบันทึกบัญชี
23.ไม่มีระบบการจัดการบริหารเงินในการแยกใช้งบประมาณค่าแรงงานกับค่าสั่งซื้อวัตถุดิบ
24.พนักงานขาดความรู้ความสามารถในการจัดทำบัญชีที่ถูกต้องและครบถ้วน
25.ไม่มีการทำบันทึกรายรับรายจ่ายในบัญชีในแต่ละวัน
26.การสืบค้นบิล/ใบกำกับภาษี/ใบส่งสินค้าและใบแจ้งหนี้ ย้อนหลังไม่มีความถูกต้องชัดเจน อาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้และล่าช้า
27.มีเอกสารอยู่มากมาย จึงทำ ให้ต้องเสียเวลาในการค้นหาข้อมูล บางครั้งเอกสารสูญหายทำให้ข้อมูลสูญหายไปด้วยรวมทั้งสิ้นเปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บเอกสาร
  
ขั้นตอนที่ 1
การเลือกสรรโครงการ
ระบบและการแก้ปัญหา
1.ระบบบัญชี
          แก้ปัญหา
1.บิลเงินสดสูญหายทำให้การตรวจสอบเงินที่ได้รับมีปัญหา
2.การทำงบประมาณการเงินทำได้ยาก เพราะเอกสารมีจำนวนมากและจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ
3.มีความซับซ้อนของขั้นตอนในการอนุมัติการเบิกจ่าย
4.เครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดทำบัญชีไม่ทันสมัย
5.จัดทำบัญชีโดยไม่ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้า และความผิดพลาดในการบันทึกบัญชี
6.ไม่มีระบบการจัดการบริหารเงินในการแยกใช้งบประมาณค่าแรงงานกับค่าสั่งซื้อวัตถุดิบ
7.ไม่มีการทำบันทึกรายรับรายจ่ายในบัญชีในแต่ละวัน
 2.ระบบตรวจสอบวัตถุดิบ
          แก้ปัญหา
1.ไม่สามารถตรวจวัตถุดิบที่เหลืออยู่ได้ทันที
2.ต้องตรวจสอบวัตถุคงเหลือด้วยตนเอง
3.การตรวจสอบวัตถุดิบเป็นไปอย่างล่าช้า
4.การตรวจสอบวัตถุดิบมีความล่าช้าทำให้การอนุมัติเงินในการจัดซื้อวัตถุดิบล่าช้าตามไปด้วย
5.การตรวจสอบวัตถุดิบในการผลิตล่าช้าส่งผลให้การผลิตล่าช้าทำให้ส่งสินค้าได้ล่าช้า
6.ในบางครั้งการสั่งซื้อมีปริมาณมาก ทำให้วางแผนการตลาดได้ยาก
7.หากมีการสั่งซื้อเป็นจำนวนมากและฝ่ายวัตถุดิบก็ไม่สามารถตรวจสอบวัตถุดิบที่เหลือได้ทันทีว่ามีปริมาณวัตถุดิบเหลือเท่าใดจึงส่งผลให้การผลิตล่าช้า
3.ระบบบันทึกเอกสารสำคัญ
          แก้ปัญหา
1.เอกสารมีปริมาณมาก เช่น บิลเงินสด เอกสารการสั่งซื้อวัตถุดิบ
2.การสืบค้นบิล/ใบกำกับภาษี/ใบส่งสินค้าและใบแจ้งหนี้ ย้อนหลังไม่มีความถูกต้องชัดเจน อาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้และล่าช้า
3.มีเอกสารอยู่มากมาย จึงทำ ให้ต้องเสียเวลาในการค้นหาข้อมูล บางครั้งเอกสารสูญหายทำให้ข้อมูลสูญหายไปด้วยรวมทั้งสิ้นเปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บเอกสาร
4.เอกสารสูญหายได้ง่าย
5.เอกสารของลูกค้าสูญหายได้ง่ายเพราะไม่มีการจัดเก็บที่ดี
6.เอกสารการสั่งซื้อวัตถุดิบสูญหายทำให้ไม่สามารถอนุมัติเงินเพื่อสั่งซื้อวัตถุดิบได้
7.เอกสารประกอบการบันทึกบัญชีไม่สมบูรณ์
วัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบ
1.เพิ่มประสิทธิภาพให้โรงงาน
2.สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
3.เพื่อทำให้ดำเนินการผลิตได้รวดเร็ว
4.เพื่อพัฒนาระบบเอกสารให้มีระบบ
 ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบใหม่
1.ลดการทำงานที่ล่าช้า
2.ข้อมูลเชื่อมโยงกัน
3.ไม่ต้องจัดเก็บเอกสาร
4.สามารถตัดสินใจได้ทันที

การค้นหาและเลือกสรรโครงการและการประเมินความต้องของโรงงาน
ตารางแสดงรายการการทำงาน (Functions) หรือกิจกรรมทั้งหมดของโรงงาน
ตารางที่  1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่และหน่วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


แสดงการจำแนกกิจกรรม (Activities) ของหน้า ที่การทำงาน (Functions) ในโรงงาน




การวางแผนระบบสารสนเทศ

การประเมินความต้องการสารสนเทศในองค์กร



ตารางสรุปการพิจารณาของโครงการพัฒนาระบบ





ขั้นตอนที่ 2
การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ

การกำหนดความต้องการของระบบ
          โครงการในขั้นตอนที่ผ่านมาได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลในเบื้องต้นเพื่อค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นมาบ้างแล้วนั้น ในขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบจึงเริ่ม ต้นด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
วัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบ
          ในการพัฒนาระบบขึ้นมาใหม่เพื่อให้ฝ่ายวัตถุดิบได้รับประโยชน์ในการดำเนินเกี่ยวกับการผลิตสินค้า จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้จริงได้
ขอบเขตของระบบ
1.ระบบมีการแบ่งกันทำงานอย่างเป็นสัดส่วนและข้อมูลสามารถเชื่อมโยงกันได้
2.รองรับการทำงาน Multi-user ได้
3.ระบบต้องใช้งานง่ายและสะดวก
 ความต้องการในระบบใหม่
1.สารมารถเรียกดูข้อมูลวัตถุดิบที่มีในโรงงานได้
2.ทุกฝ่ายสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
3.สามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด
4.เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น
 ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ
นักวิเคราะห์ระบบ
          เป็นบุคคลที่มีความรู้ในเรื่องของการทำงานของระบบสารสนเทศที่นำมาใช้  ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ  ตลอดจนเก็บรวบรวมข้อมูลและติดต่อประสานงานระหว่างผู้ใช้  พนักงานหรือทีมโปรแกรม  จัดทำเอกสารของระบบรวมถึงการทดสอบโปรแกรมของระบบ  และอื่น ๆ
พนักงานบันทึกข้อมูล
          คือบุคคลที่ทำการบันทึกข้อมูลที่นักวิเคราะห์ระบบรวบรวมมาเพื่อทำการเตรียมข้อมูลให้กับโปรแกรมเมอร์ใช้ในขั้นตอนการทำงานต่อไป
โปรแกรมเมอร์
          เจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์  2  คน  ทำหน้าที่ในการเขียนและติดตั้งโปรแกรมของระบบที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลง รวมทั้งทดสอบโปรแกรมของระบบใหม่
ประมาณการใช้ทรัพยากร
1.เครื่องคอมพิวเตอร์                จำนวน                  3        เครื่อง
2.เครื่องพิมพ์                            จำนวน                  2        เครื่อง
สรุปงบประมาณที่ใช้ในแต่ละส่วน
1.ส่วนของเจ้าของโรงงาน
          ค่าตอบแทนทีมนักพัฒนาโปรแกรมและนักวิเคราะห์ระบบ                45,000          บาท
          ค่าการฝึกอบรมพนักเกี่ยวกับระบบใหม่                                               150              บาท
          ค่าจัดซื้ออุปกรณ์ในการใช้งานระบบใหม่                                            50,000          บาท
จากรายการดังกล่าวเป็นเพียงการประมาณค่าใช้จ่ายคร่าวๆ  ที่ทางโรงงานจ่ายในการปรับปรุงระบบ ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่านี้เพราะในการจัดซื้ออุปกรณ์อาจไม่ได้ตามที่กำหนด

ประมาณระยะเวลาดำเนินงาน

แบบจำลองขั้นตอนการทำงาน (DFD)


จากแผนภาพดังกล่าวจะเห็นได้ว่าผู้ที่จะสามารถบันทึกข้อมูลจำนวนหรือแก้ไขจำนวนวัตถุดิบได้นั้นมีแต่หัวหน้างานเท่านั้น  เพื่อทำให้ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือมากกว่าการให้พนักงานแก้ไขข้อมูล ส่วนพรักงานสามารถขอดูจำนวนรายการวัตถุดิบได้เพียงเท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาของการกรอกข้อมูลที่ซ้ำกัน และยังลดปัญหาที่อาจเกิดได้จากการกลั่นแกล้งของพนักงาน

สรุปผลสำหรับเจ้าของกิจการ
          จากการศึกษาข้อมูลที่ได้รวบรวมมาจากโรงงาน ส่วนใหญ่พนักงานยังขาดความรู้ทางด้านการใช้เทคโนโลยี             ดังนั้นทางโรงงานจึงต้องมีการจัดอบรมการฝึกใช้งานระบบใหม่ให้แก่พนักงานหรือบุคลากรทีเกี่ยวข้องกับระบบ ทางทีมนักพัฒนาได้จัดทำรายงานสรุปสำหรับเจ้าของโรงงานเพื่อให้ทราบขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อความเข้าใจง่าย 2 ด้านดังนี้
1.ด้านเทคนิค
          เกี่ยวกับฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ของระบบใหม่
2.ด้านการปฏิบัติงาน
          เกี่ยวกับการทดสอบการทำงานของระบบใหม่ที่นำมาใช้มีผลต่อโรงงานอย่างไร ตรงตามความต้องการของโรงงาน

ขั้นตอนที่ 3
การกำหนดความต้องการของระบบ
เมื่อการพัฒนาระบบใหม่ได้รับการอนุมัติจากการนำเสนอโครงการในขั้นตอนที่ผ่านมา ทางทีมงานเริ่มด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม ในการกำหนดความต้องการของระบบใหม่ ทีมงานเลือกใช้วิธีการออกแบบสอบถาม ผู้ตอบแบบสอบถามคือหัวหน้าคนงานและพนักงานทุก ๆ คน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนและเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์จริงของคนงานว่าต้องการระบบใหม่อย่างไร
การเก็บรวบรวมสารสนเทศที่จำเป็น (แบบสอบถาม)

          ตัวอย่างแบบสอบถาม

ความต้องการในระบบใหม่ 
1 สามารถบันทึกข้อมูลวัตถุดิบได้อย่างถูกต้องครบถ้วน
2 สามารถเพิ่มจำนวนวัตถุดิบได้ง่าย รวดเร็ว
3 ข้อมูลในระบบสามารถเชื่อมโยงไปยังส่วนอื่นๆได้ แต่จะต้องทำการเข้า
Login ก่อน
4 สามารถเช็คดูจำนวนวัตถุดิบในสต๊อกได้
5 สามารถค้นหาข้อมูลของวัตถุดิบได้สะดวกรวดเร็ว
ความต้องการของผู้ใช้กับระบบงานใหม่
จากการรวบรวมความต้องการของระบบใหม่ จึงได้นำมาวิเคราะห์หาขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่ตามความต้องการดังนี้
1. สามารถเรียกดูข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น
2. สามารถแก้ไข ปรับปรุงข้อมูลได้โดยสะดวก
3. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
4. พนักงานทุกฝ่ายสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
5. มีการใช้งานที่ง่ายไม่สับซ้อน
6. มีการพิมพ์รายงานจำนวนวัตถุดิบคงเหลือ

ขั้นตอนที่ 4
การออกแบบเชิงตรรกะ
          จากการวิเคราะห์ความต้องการในระบบใหม่ทีรวบรวมมาจากการออกแบบสอบถาม  สามารถจำลองเป็นแผนภาพกระแสข้อมูล (DFD) ได้ดังนี้

CONTEXT DIAGRAM


Level 0 Diagram
หัวหน้าคนงาน


คนงาน


เจ้าของกิจการ





Level 1 Diagram

หัวหน้าคนงาน


คนงาน



เจ้าของกิจการ


แบบจำลองข้อมูล (Data Modeling)
            นอกจากการจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ (Process Modeling) ด้วยแผ่นภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagrma)  ในการกำหนดความต้องการของระบบแล้วยังต้องจำลองข้อมูล  (Data Modeling)   ทั้งหมดในระบบด้วยแผนภาพแสดงความสัมพัทธ์ระหว่างข้อมูล  (Entity Relationship Diagram: E-R Diagram)  โดยข้อมูลนั้นมีความหมายรวมทั้งแต่ข้อมูลที่อยู่บนเอกสารหรือรายงานต่าง ๆ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบ ซึ่งแบบจำลองทั้ง 2 ที่แสดงให้เห็นเป็นแบบจำลองของระบบตรวจสอบวัตถุดิบ ในระบบตรวจสอบวัตถุดิบสามารถสร้าง E-R Diagram ตามขั้นตอนต่อไปนี้


สร้าง Relationship ให้กับ Entity
1.พนักงาน หลายคนสามารถ ดู ข้อมูลวัตถุดิบได้หลายอย่าง


2.วัตถุดิบหลายอย่างสามารถ เพิ่ม ได้จากหัวหน้างาน 1 คน


3.วัตถุดิบหลายอย่างสามารถ เพิ่ม ได้จากเจ้าของโรงงาน 1 คน


4.หัวหน้างาน 1 คน สามารถ แก้ไข ข้อมูลวัตถุดิบได้หลายชิ้น



5.เจ้าของกิจการ 1 คน สามารถ แก้ไข ข้อมูลวัตถุดิบได้หลายชิ้น



6.เจ้าของกิจการ 1 คน สามารถ ลบ ข้อมูลวัตถุดิบได้หลายชิ้น



จากเงื่อนไขข้างต้นสามารถนำมากำหนดความสำพันธ์ (Relationship) ได้ดังนี้


ขั้นตอนที่ 5
การออกแบบเชิงกายภาพ
          เป็นขั้นตอนที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานทางกายภาพ หรือ ที่แสดงให้เห็นได้ โดยระบุถึงคุณลักษณะหรืออุปกรณ์ที่นำมาใช้ ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ฐานข้อมูล สิ่งที่ได้จากขั้นตอนการออกแบบกายภาพนี้จะเป็นข้อมูลของการออกแบบเพื่อส่งให้โปรแกรมเมอร์ทำการเขียนโปรแกรมตามลักษณะที่ได้ออกแบบไว้
          การออกแบบนั้นจะขึ้นอยู่กับองค์กรว่าจะต้องมีข้อมูลในส่วนใดบ้าง และจะมีการกำหนดสิทธิในการเข้าใช้งาน โดยสิทธิการเข้าใช้งานจะถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ตามที่ได้ตกลงกับเจ้าของโรงงานไว้ เพื่อป้องกันการไม่ประสงค์ดีต่อโรงงาน

          การออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (Graphic User Interface) เป็นการออกแบบหน้าจอโปรแกรม เพื่อให้ผู้ใช้งานได้โต้ตอบกับผู้ใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ในปัจจุบันนิยมการออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้แบบ Graphic

หน้าต่างแสดงตัวเลือกก่อนเข้าใช้งาน



หน้าต่างการ Login เพื่อเข้าใช้งานของตัวเลือก หัวหน้างานและเจ้าของโรงงาน


หน้าต่างแสดงการเพิ่ม แก้ไขข้อมูลของหัวหน้างาน




หน้าต่างแสดงการเพิ่ม แก้ไขและลบข้อมูลวัตถุดิบของเจ้าของโรงงาน



หน้าต่างการขอดูจำนวนวัตถุดิบของพนักงานทั่วไป




ขั้นตอนที่ 6
การติดตั้งและพัฒนา
          เป็นขั้นตอนในการนำข้อมูลเฉพาะของการออกแบบมาทำการเขียนโปรแกรมเพื่อให้เป็นไปตามคุณลักษณะ และรูปแบบต่าง ๆ ที่ได้กำหนดไว้   หลังจากเขียนโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว  นักวิเคราะห์จะต้องทำการทดสอบโปรแกรม  ตรวจสอบหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมา และสุดท้ายคือการติดตั้งระบบไม่ว่าจะเป็นระบบใหม่หรือเป็นการพัฒนาระบบเดิมที่มีอยู่แล้ว โดยทำการติดตั้งตัวโปรแกรม ติดตั้งอุปกรณ์พร้อมทั้งจัดทำคู่มือและจัดเตรียมหลักสูตรอบรมให้แก่ผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้อง
          หลังจากนั้นจะต้องมีการทดสอบโปรแกรมเพื่อหาข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นและทำการแก้ไขในเบื้องต้น เมื่อโปรแกรมผ่านการทดสอบแล้ว กิจกรรมต่อไปคือ การติดตั้งระบบใหม่ พร้อมทั้งจัดทำคู่มือประกอบการใช้โปรแกรม จัดหลักสูตรฝึกอบรมผู้ใช้ระบบและคอยช่วยเหลือในระหว่างการทำงาน เมื่อผ่านการขั้นตอนต่าง ๆ ไมว่าจะเป็นการศึกษา การวิเคราะห์และการอกแบบระบบ ซึ่ง เป็นขั้นตอนใหญ่ที่มีความสำคัญมากในการที่ระบบ สำหรับขั้นตอนหลัง จากผ่านการวิเคราะห์และออกแบบระบบมาแล้ว  คือ การติดตั้งระบบที่ได้มีการศึกษาวิเคราะห์และออกแบบเรียบร้อยแล้ว ซึ่งได้แก่การวางแผน การติดตั้งระบบใหม่ที่ได้ทำการพัฒนามาแล้ว ซึ่งจะได้ศึกษากันในบทนี้การวางแผนการติดตั้งระบบ
วิธีการติดตั้ง
เป็นการติดตั้งแบบกระจายศูนย์ สามารถใช้ได้ในทุกที่ที่มีคอมพิวเตอร์ที่ได้ติดตั้งโปรแกรมไว้

ขั้นตอนที่ 7
ขั้นตอนการซ่อมบำรุงระบบ
เป็นขั้นตอนเพื่อการดูแลระบบเมื่อมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น และต้องทำการแก้ไขข้อผิดพลาดนั้น รวมทั้งเป็นขั้นตอนเพื่อการปรับปรุงดัดแปลงหรือแก้ไขทั้งโปรแกรม นอกจากนี้ยังปรับปรุงให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นอยู่เสมอ เช่น รูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปหรือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
กิจกรรมการซ่อมบำรุง มี 4 ขั้นตอน
1. เก็บรวบรวมคำร้องขอให้ปรับปรุงระบบ
2. วิเคราะห์ข้อมูลการร้องขอเพื่อการปรับปรุง
3. ออกแบบการทำงานที่ต้องงการปรับปรุง
4. ปรับปรุงระบบ
การซ่อมบำรุงอาจเกิดค่าใช้จ่าย
1.ปริมาณการใช้งานของโปรแกรมต่อวัน
2.จำนวนข้อมูลที่ได้รับต่อวัน
3.อุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบำรุง

ทางทีมงานตั้งใจที่จะซ่อมบำรุงระบบให้มีประสิทธิภาพสูงสุดทางทีมงานจึงคิดถึงการซ่อมบำรุงระยะยาวเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นอีกและให้ระบบสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด